โรคเอดส์ เป็นโรคที่ไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะเป็นโรคที่ใครก็รู้ว่าเป็นแล้วรักษาไม่หาย วัคซีนป้องกันและยารักษาโรคเอดส์ได้ยังไม่มี จึงเป็นโรคที่เราทุกคนไม่อยากจะเป็น
เอดส์ (AIDS หรือ Acquired Immune Deficiency Syndromes) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว เป็นผลให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายเสื่อมหรือบกพร่องลง ทำให้ติดเชื้อโรคชนิดฉวยโอกาส เช่น ปอดบวม วัณโรค หรือมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ อาการจะรุนแรง และเสียชีวิตในที่สุด
การติดต่อของเชื้อเอดส์จะเป็นไปได้ 2 ทาง คือ
1. ทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการแพร่เชื้อเอดส์ที่สำคัญที่สุด เชื้อเอดส์จะเข้าสู่ร่างกายของคู่ร่วมเพศสัมพันธ์ทางเยื่อเมือกหรือบาดแผล ซึ่งอาจเป็นบาดแผลเล็กน้อยที่มองไม่เห็น หรือไม่รู้สึกว่ามีแผลก็ได้
2. ทางเลือด
ทางการรับเลือด ผลิตภัณฑ์จากเลือด น้ำอสุจิหรือการปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้ที่มีเชื้อเอดส์
การใช้เข็มและกระบอกฉีดยาเสพติดร่วมกันโดยไม่ได้ทำความสะอาด
จากมารดาสู่ทารก ในกรณีที่มารดาติดเชื้อเอดส์อาจถ่ายทอดเชื้อไปให้ทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือระหว่างการเลี้ยงดูด้วย น้ำนมมารดา
การป้องกัน
1. ไม่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด ซึ่งมีการใช้เข็มและกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
2. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่ไม่ใช่สามีหรือภรรยา ถ้าหากจะมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
3. งดเว้นการใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งของที่อาจปนเปื้อนเลือด เช่น ใบมีดโกนหนวด เข็มสักตัว เข็มเจาะหู เป็นต้น
4. หญิงที่มีเลือดบวกเอดส์ หากตั้งครรภ์ ทารกมีโอกาสติดเชื้อเอดส์ได้ 30% - 50%
ในประเทศไทยพบว่าพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์มากที่สุด คือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช้คู่สมรส ที่ไม่มีโอกาสรู้เลยว่า คู่นอนของท่านติดเชื้อเอดส์หรือไม่ เพราะผู้ที่ติดเชื้อเอดส์จะยังไม่ปรากฏอาการเจ็บป่วย สามารถแพร่เชื้อได้ตลอดเวลา ดังนั้นวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงและช่วยป้องกันให้ได้รับความปลอดภัยจากการติดเชื้อดังกล่าว ก็คือถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยป้องกันการติดต่อของโรคอันเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ถุงยางอนามัยที่นำไปใช้งานสามารถใช้ป้องกันโรคได้หรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของถุงยางอนามัยเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ว่าใช้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงวิธีการเลือกซื้อ การเก็บรักษา และวิธีการใช้ที่ถูกต้อง ซึ่งหากผู้ใช้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ถุงยางอนามัยสำหรับป้องกันโรคเอดส์ ตลอดจนสามารถทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อถุงยางอนามัย
ถุงยางอนามัย (Condom) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากน้ำยางธรรมชาติ น้ำยางสังเคราะห์หรือวัตถุอื่น โดยขบวนการจุ่มแบบพิมพ์ ใช้สวมอวัยวะเพศชายเพื่อการคุมกำเนิด และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะการป้องกันการติดต่อของโรคเอดส์
ถุงยางอนามัย จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2531 ซึ่งผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าจะต้องขอรับใบอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และถุงยางอนามัยจะต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดไว้
ขบวนการผลิตถุงยางอนามัย ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ การผสม การขึ้นรูป การอบแห้งและทำให้ยางคงรูป การตรวจสอบหารอยรั่วด้วยไฟฟ้า การเติมสารหล่อลื่นและการบรรจุโดยมีขั้นตอนสำคัญคือการควบคุมคุณภาพถุงยางอนามัย ซึ่งผู้ผลิตจะทำการควบคุมคุณภาพ ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ การควบคุมคุณภาพระหว่างการผลิต และการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปตามมาตรฐานที่กำหนด มีการตรวจสอบถุงยางอนามัยก่อนออกจำหน่าย โดยกำหนดให้ถุงยางอนามัยทุกรุ่นการผลิตหรือนำเข้าจะต้องถูกสุ่มตัวอย่างเพื่อส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวิเคราะห์คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด หากพบว่าได้มาตรฐานจึงจะอนุญาตให้จำหน่ายได้ ถ้าคุณภาพไม่เข้ามาตรฐาน จะต้องถูกทำลาย หรือส่งกลับประเทศผู้ผลิตทันที
การเลือกซื้อ
การเลือกซื้อถุงยางอนามัยทุกครั้ง จะต้องคำนึงถึง คือ
1. อ่านฉลากก่อนซื้อ การอ่านฉลากถุงยางอนามัยก่อนซื้อทุกครั้ง จะทำให้ทราบว่าถุงยางอนามัยดังกล่าว ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วหรือไม่ ถุงยางอนามัยหมดอายุการใช้งานหรือยัง มีความเหมาะสมตรงกับความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ ข้อความที่เป็นส่วนสำคัญที่ควรพิจารณาดูจากฉลาก ได้แก่
- เครื่องหมาย อย.
* ใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์ ที่
ในกรณีที่เป็นการผลิตในประเทศ
* ใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์ ที่
- วันหมดอายุ
1. มูลนิธิเกื้อดรุณ . คู่มือการบรรยาย เรื่อง เอดส์. 2536.
2. กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.ความรู้ทั่วไป เรื่อง เอดส์กับถุงยางอนามัย. 2537.
3. สวัสดิ์ พุ่มวิจิตร. ถุงยางอนามัยกับการแพร่ระบาดของโรคเอดส์.2540.
4. ทรงพล รัตนพันธุ์. ถุงยางอนามัย…ฉลาดซื้อ ฉลาดใช้ ปลอดภัยแน่นอน.วารสารอาหารและยา ปีที่ 7 ฉบับที่ 1/2543 ม.ค.-เม.ย.2543 หน้า 14-18.
เขียนความคิดเห็น
ความคิดเห็น
Note: HTML is not translated!
กรุณาใส่รหัสความปลอดภัย